ข่าวประชาสัมพันธ์ สถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หัวข้อ: ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A H1N1
ประกาศเมื่อ: 2009-06-19


ที่มา: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419303&Itemid=199

แนวทางการเฝ้าระวังสอบสวนผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโก
กระทรวงสาธารณสุข

องค์การอนามัยโลกและศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Center for Diseases Control)ได้รายงานการ การระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมสายพันธุกรรม (reassortment) ของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนและสายพันธุพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหมู เป็น Human swine influenza (Influenza A H1N1) โดยมีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากในประเทศเม็กซิโก และรัฐแคลลิฟอร์เนีย เท็กซัส และ แคนซัส สถานการณ์วันที่ 25 เมษายน 2552 สหรัฐอเมริการายงานว่าพบผู้ตดเชื้อแล้ว 11 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนมากอาการดีขึ้นและมีเพียง 1 รายที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลแต่อาการไม่รุนแรง? แต่ในประเทศเม็กซิโกพบว่ามีผู้ป่วยสงสัย 1149 ราย เสียชีวิต 71 ราย ผู้เสียชีวิตได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าติดเชื้อจำนวน 20 ราย ผู้ป่วยไม่มีประวัติสัมผัสหมู แต่มีประวัติอาศัยอยู่หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยัน ข้อมูลจาการสอบสวนผู้ป่วยบ่งชี้ว่าเป็นการแพร่เชื้อจากคนสู่คนมากกว่าการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ผู้ป่วยยืนยันที่พบยังไม่สามารถเชื่อมโยงความเกี่ยวข้องกันทางการระบาดได้ ตรวจพบว่าเชื้อดังกล่าวดื้อต่อยาต้านไวรัสกลุ่ม Amantadine และ Rimantadine แต่ยังไวต่อยา Zanamivir และ Oseltamivir ?อย่างไรก็ข้อมูลทางระบาดวิทยาของสถานการณ์ที่พบในประเทศเม็กซิโก แตกต่างจากสหรัฐอเมริกา องค์การอนามัยและผู้เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและจะได้เผยแพร่ในสื่อสาธารณะต่อไป โดยสถานการณ์การะบาดคาดว่าจะยังมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยไข้หวัดนกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547? ซึ่งมีการค้นหาผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนกจากผู้มารับบริการโดยขอให้สถานบริการทางสาธารณสุขจัดตั้งจุดคัดกรองที่แผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน หากพบผู้มารับบริการมีอาการและประวัติเสี่ยงตามเกณฑ์ให้มีการรายงานผู้ป่วย เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อ และดำเนินการสอบสวน ข้อมูลการเฝ้าระวังไข้หวัดนกในคนของประเทศไทยพบว่าปี 2550 -51 มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ Influenza H1 จำนวน 29 และ 55 รายตามลำดับ และมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ไม่ใช่ Influenza A H1, H3 หรือ H5 จำนวน 66 และ 34 รายตามลำดับ และยังไม่เคยดำเนินการตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการระบาดในประเทศเม็กซิโก เพื่อค้นหาและเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศเม็กซิโก สำนักระบาดวิทยาจึงขยายขอบเขตการเฝ้าระวังในสถานบริการทางสาธารณสุขให้ครอบคลุมผู้ที่อาจติดเชื้อดังกล่าว จึงได้ทบทวนและปรับปรุงแนวทางการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่? ดังนี้

 


- ไข้ (อุณหภูมิกายมากกว่า 38 องศา) ร่วมกับ
- อาการอย่างใดอย่างหนึ่งอันได้แก่ น้ำมูก, ไอ, เจ็บคอ, หายใจผิดปกติ (หอบ, ลำบาก), ปวดกล้ามเนื้อ หรือ แพทย์วินิจฉัยสงสัยว่าเป็นปอดบวม? หรือไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับ
- มีประวัติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
1. สัมผัสสัตว์ปีกโดยตรงในระยะ 7 วันก่อนวันเริ่มป่วย หรือ
2. มีการตายของสัตว์ปีกอย่างผิดปกติในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ในรอบ 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
3. อาศัยอยู่หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโก (ซึ่งจะมีการกำหนดและแจ้งให้ทราบทางเว็ปสำนักระบาดวิทยา) ในระยะ 7 วันก่อนวันเริ่มป่วย
4. มีผู้สัมผัสร่วมบ้านหรือในที่ทำงานป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบ ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนวันเริ่มป่วย
5. ผู้ป่วยปอดบวมที่เป็นบุคลากรทางสาธารณสุข
6. ผู้ป่วยปอดบวมรุนแรงหรือเสียชีวิต ที่หาสาเหตุไม่ได้

- Nasopharyngeal aspiration, Nasopharyngeal swab หรือ Throat swab ใส่ไว้ใน viral transport media นำส่งในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งหรือ ice pack เพื่อรักษาอุณหภูมิให้ได้ 2-4 องศาเซลเซียส และให้ส่งถึงห้องปฏิบัติการกรมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมง
- Clotted Blood 5 มิลลิลิตร (cc.) เก็บ 2 ครั้ง ครั้งแรกเก็บเมื่อพบผู้ป่วย ครั้งที่สอง เก็บห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 14 วันขึ้นไป

ใช้หลักการตามแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย และ การดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัดนก / ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ ?ฉบับปรับปรุง วันที่ 3 เมษายน 2551 ประกอบด้วย

ขนาดยาเพื่อการรักษา
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 เม็ด (75 mg) วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เป็นเวลา 5 วัน
เด็ก คำนวณตามน้ำหนัก (2 mg/Kg/dose)
น้ำหนัก < 15 กิโลกรัม ให้ 30 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เป็นเวลา 5 วัน
น้ำหนัก 16-23 กิโลกรัม ให้ 45 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เป็นเวลา 5 วัน
น้ำหนัก 24-40 กิโลกรัม ให้ 60 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เป็นเวลา 5 วัน
น้ำหนัก >40 กิโลกรัม ให้ 75 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เป็นเวลา 5 วัน
ขนาดยาเพื่อการป้องกัน
ผู้ใหญ่ วันละ 1 เม็ด ??เป็นเวลา 10 วัน
เด็ก คำนวณตามน้ำหนัก (2 mg/Kg/dose) กินวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน

ผู้ป่วยรายงานในข่ายเฝ้าระวัง

ผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีการระบาดในเม็กซิโก

ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีการระบาดในเม็กซิโก


? แผนผังการเฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วย

หมายเหตุ แนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมข้างต้นอาจมีการปรับเปลี่ยนหากพบข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมหรือสถาการณ์เปลี่ยนแปลงไป และจะได้แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไป

คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก
ฉบับที่ 2
........................................................

สถานการณ์โรค
ความคืบหน้าสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 29 เมษายน 2552 มีผู้ป่วยที่มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการในเม็กซิโก 26 ราย เสียชีวิต 7 ราย สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วย 91 ราย แต่อาการไม่รุนแรงและไม่มีผู้เสียชีวิต ?โดยพบผู้ป่วยใน 10 มลรัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย 14 ราย เท็กซัส 16 ราย (เสียชีวิต 1 ราย) นิวยอร์ค 51 ราย แคนซัส 2 ราย แมสซาชูเซทส์ 2 ราย ??มิชิแกน 2 ราย ??โอไฮโอ 1 ราย? อริโซนา 1 ราย ??อินเดียนา 1 ราย? และ เนวาดา 1 ราย ?นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยติดเชื้อหลังกลับจากเม็กซิโก ได้แก่ ออสเตรีย 1ราย แคนาดา 13 ราย เยอรมนี 3 ราย อิสราเอล 2 ราย นิวซีแลนด์ 3 ราย สเปน? 4? ราย และ สหราชอาณาจักร? 5 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต? โดยขณะนี้ ประเทศเม็กซิโกมีมาตรการตรวจคัดกรองโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในผู้โดยสารเครื่องบินขาออก? ดังนั้น อาจมีผลให้การเดินทางของท่านล่าช้าไปบ้าง
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 52 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC )
วันที่ 27 เมษายน 52 ได้ประกาศปรับเตือนการระบาดจากเดิม ระดับ 3 เป็นระดับ 4 พร้อมทั้งแนะนำมาตรการว่า ไม่ควรจำกัดการเดินทางหรือปิดพรมแดน หากประชาชนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรเลื่อนการเดินทางระหว่างประเทศและหากเริ่มป่วยหลังจากการเดินทางระหว่างประเทศ ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุก ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ประชาชนทั่วไปควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ บ่อยๆ และหากเริ่มมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรไปพบแพทย์
ล่าสุดวันที่ 29 เมษายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยกระดับการเตือนการระบาดเป็นระดับ 5 ?และเน้นย้ำให้ทุกประเทศเริ่มปฏิบัติการตามแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น การค้นหาโรคได้รวดเร็ว การรักษาพยาบาล และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลในสถานบริการสาธารณสุข

สถานการณ์ในประเทศไทย? จากการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้นได้ตรวจผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา? และได้ตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการแล้ว 3 ราย ?ยังไม่พบผู้ป่วยจากโรคนี้??
การป้องกันควบคุมโรค? ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 และหน่วยงานต่างๆ กำลังดำเนินงานตามแผนเตรียมความพร้อม? มาตรการสำคัญในระยะนี้ ได้แก่
1. มาตรการสกัดกั้นโรค มิให้แพร่เข้าประเทศไทย

  1. เร่งรัดการเฝ้าระวังในผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
  2. คัดกรองผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (เทอร์โมสแกน) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง
  3. ?แจกเอกสารคำแนะนำการดูแลตนเองและบอกแหล่งข้อมูลในการติดต่อกับทางราชการ (Health Beware Cards)
  4. ขอความร่วมมือสายการบินจากต่างประเทศแจกแบบฟอร์ม ให้ผู้เดินทางกรอกเพื่อการติดตามอาการ
  5. ขอความร่วมมือบริษัททัวร์ โรงแรม สายการบินในการดูแล แนะนำ ป้องกันโรคในผู้เดินทางระหว่างประเทศ

2. มาตรการค้นหาผู้ป่วยและ แก้ไข หากพบผู้ป่วยในประเทศ
-???? เร่งปรับระบบการเฝ้าระวังโรคค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด

  1. เร่งเพิ่มระดับความพร้อมระบบการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งจัดห้องแยก? และเวชภัณฑ์
  2. มาตรการทั่วไป
  3. ให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ ให้กับประชาชน แจ้งเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  4. ?ประสานองค์การอนามัยโลก ขอให้ประเทศที่มีการระบาด ตรวจสอบอาการของผู้เดินทางก่อนออกเดินทาง (Exit screening)

เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทย ยังไม่มีโรคนี้? ประชาชนทั่วไปยังไม่จำเป็นต้องตระหนก และควรปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
1. หากไม่มีความจำเป็น? ควรชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง? แต่ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ? หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด? หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์? พร้อมทั้งติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
2.? ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น? มีไข้ ไอ เจ็บคอ? ปวดเมื่อยเนื้อตัวมาก ฯลฯ? ภายใน 7 วันหลังจากเดินทางกลับ ควรสวมหน้ากากอนามัย? หรือใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม? และรีบปรึกษาแพทย์ ??กรณีที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อนุญาตให้รักษาตัวที่บ้าน? ควรหยุดงาน หยุดเรียน และงดไปในที่ชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น
3. ?รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย
3.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้? ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง? ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ? หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสุรา
3.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ? โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม
3.3 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้านหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน? ต้องรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดทันที
ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่? เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข? www.moph.go.th? และหากมีข้อสงสัย ?สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ? กรมควบคุมโรค? หมายเลขโทรศัพท์ ????????????0 2590 3333 ?และ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง


กระทรวงสาธารณสุข
วันที่? 30 เมษายน ?2552

Source: WHO http://www.who.int/en/

How can I protect myself from influenza A (H1N1)?

Practice general preventive measures for influenza:

How do I care for an ill person at home?

If you are living in a country where there are infections follow additional advice from your national and local health authorities.

What should I do if I think I have the illness?

If you feel unwell, have high fever, cough or sore throat:

What should I do if I need medical attention?

Joint FAO/WHO/OIE Statement on influenza A(H1N1) and the safety of pork

In the on-going spread of influenza A/H1N1, concerns about the possibility of this virus being found in pigs and the safety of pork and pork products has been raised.

Influenza viruses are not known to be transmissible to people through eating processed pork or other food products derived from pigs.

Heat treatments commonly used in cooking meat (e.g. 70?C/160?F core temperature) will readily inactivate any viruses potentially present in raw meat products.

Pork and pork products, handled in accordance with good hygienic practices recommended by the WHO , Codex Alimentarius Commission and the OIE, will not be a source of infection

Authorities and consumers should ensure that meat from sick pigs or pigs found dead are not processed or used for human consumption under any circumstances.

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง 1 ประกาศสถานการณ์การเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H1N1

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง 2 World Health Organization: Epidemic and Pandemic Alert and Response (EPR)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง 3 แนวทางการเฝ้าระวังสอบสวนผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H1N1

บันทึกครั้งสุดท้ายเมื่อ 0000-00-00 00:00:00



สถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.(ภายนอก) 0-2579-0030, 0-2940-6630-1 โทร.(ภายใน มก.) 0-2942-8200 ต่อ 1278,1281-2,1138-9
อีเมล์: infirmaryat เว็บ: www.inf.ku.ac.th
Last Update: Sunday 19.11.2006 9:27

 

Monday 18.06.2007 15:13